วันพุธที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2555

             


                                                   ศาสนาพุทธ
ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประเภทอเทวนิยม และเป็นศาสนาที่มีผู้นับถือมากศาสนาหนึ่งของโลก รองจาก ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม และ ศาสนาฮินดู ประวัติความเป็นมาของศาสนาพุทธเริ่มตั้งแต่สมัยพุทธกาล ผู้ประกาศศาสนาและเป็นศาสดาของศาสนาพุทธคือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงตรัสรู้เมื่อวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนวิสาขะหรือเดือน 6 ณ ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม แคว้นมคธ ประเทศอินเดีย 45 ปี ก่อนพุทธศักราช ปัจจุบันสถานที่นี้ เรียกว่า พุทธคยา อยู่ห่างจากเมืองคยาประมาณ 11 กิโลเมตร ประวัติความเป็นมาของพุทธศาสนาหลังจากการประกาศศาสนา เริ่มจากการแพร่หลายไปทั่วอินเดีย หลังพุทธปรินิพพาน 100 ปี จึงแตกเป็นนิกายย่อย โดยนิกายที่สำคัญคือ เถรวาทและมหายาน
นิกายมหายานได้แพร่หลายไปทั่วเอเชียกลาง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียตะวันออก เมื่อศาสนาพุทธในอินเดียเสื่อมลง พุทธศาสนามหายานในเอเชียกลางและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้เสื่อมตามไปด้วย ยังคงเหลือในจีน ทิเบต ญี่ปุ่น เวียดนาม ส่วนนิกายเถรวาทได้เฟื่องฟูขึ้นอีกครั้งในศรีลังกา และแพร่หลายไปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พุทธศาสนาได้แพร่หลายไปยังโลกตะวันตกตั้งแต่ครั้งโบราณ แต่ชาวตะวันตกหันมาสนใจพุทธศาสนามากขึ้นในยุคจักรวรรดินิยมและหลังสงครามโลกครั้งที่ 2











  


                                                 การกราบ
 (อภิวาทเป็นการแสดงความเคารพด้วย วิธีนั่งประนมมือขึ้นเสมอหน้าผากแล้วน้อมศีรษะ ลงจรดพื้นหรือจรดมือ ณ ที่ใดที่หนึ่ง แล้วน้อมศีรษะลงบนมือนั้น เช่น กราบลงบน ตักก็อนุโลมถือว่าเป็นกราบ ถ้าหมอบแล้วน้อม ศีรษะจรดมือที่ประนมถึงพื้นเรียกว่า หมอบกราบ การกราบมี ลักษณะ คือ การกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ และการกราบผู้ใหญ่ 
3.1 การกราบแบญ จางคประดิษฐ์ ใช้กราบพระรัตนตรัย ได้แก่ พระพุทธ พระ ธรรม พระสงฆ์ การกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ หมายถึง การ ที่ให้อวัยวะทั้ง คือ เข่าทั้ง มือทั้ง และหน้าผากจรดพื้นการกราบจะมี จังหวะ และจะต้องนั่งอยู่ในท่าเตรียมกราบ
ท่าเตรียมกราบ
ชาย นั่งคุกเข่าปลายเท้าตั้ง นั่ง บนส้นเท้า มือทั้งสองวางบนหน้าขาทั้ง สองข้าง (ท่าเทพบุตร)
หญิง นั่งคุกเข่าปลาย เท้าราบ นั่งบนส้นเท้า มือทั้งสองวางบน หน้าขาทั้งสองข้าง (ท่าเทพธิดา)
จังหวะ ที่ 1 อัญชลียกมือขึ้นประนมระหว่างอก ปลายนิ้วชิดกันตั้งขึ้นแนบตัวไม่กางศอก
จังหวะที่ 2 (วันนายกมือขึ้น พร้อมกับก้มศีรษะ โดยให้ปลายนิ้วชี้จรดหน้า ผาก
จังหวะที่ 3 (อภิวาททอดมือลง กราบ ให้มือและแขนทั้งสองข้างลงพร้อมกัน มือคว่ำห่างกันเล็กน้อยพอให้หน้าผากจรด พื้นระหว่างมือได้
ชาย ให้กางศอกทั้งสอง ข้างลง ต่อจากเข่าขนานไปกับพื้น หลังไม่ โก่ง
หญิง ให้ศอกทั้งสองข้างคร่อมเข่าเล็ก น้อย
ทำสามจังหวะให้ครบสามครั้ง แล้วยก มือขึ้นจบโดยให้ปลายนิ้วชี้จรดหน้าผาก แล้วปล่อยมือลง การกราบไม่ควรให้ช้าหรือ เร็วเกินไป
3.2 การกราบผู้ใหญ่ ใช้ กราบผู้ใหญ่ที่มีอาวุโส รวมทั้งผู้มีพระ คุณได้แก่ พ่อ แม่ ครูอาจารย์ และผู้ที่เรา เคารพ กราบเพียงครั้งเดียว โดยที่ผู้กราบทั้งชาย และหญิงนั่งพับเพียบ ทอดมือทั้งสองข้างลง พร้อมกัน ให้แขนทั้งสองคร่อมเข่าที่อยู่ด้าน ล่างเพียงเข่าเดียว มือประนม ค้อมตัวลงให้หน้า ผากแตะส่วนบนของมือที่ประนม ในขณะกราบ ไม่ควรกระดกนิ้วหัวแม่มือขึ้นรับหน้าผาก


ประเพณีลอยกระทง


ลอยกระทง เป็นประเพณีที่สำคัญและเก่าแก่ของไทย ตรงกับวันขึ้น๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ซึ่งอยู่ในช่วงน้ำหลาก มีที่มากจากพิธีกรรมเกี่ยวกับน้ำ ซึ่งปัจจัยสำคัญในวัฒนธรรมของไทย ถึงแม้จุดมุ่งหมายความเชื่อในวันลอยกระทงจะแตกต่างกัน แต่ความหมายที่เหมือนกันของประเพณีลอยกระทงก้อคือ การแสดงออกถึงความกตัญญู รู้จักสำนึกถึงคุณค่าของน้ำ ที่ช่วยให้เรามีชีวิตที่ดี นับเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมที่ดีงามอย่างหนึ่งของไทย ปัจจุบันประเพณีลอยกระทงได้ถูกดัดแปลงไปบ้าง การให้ความสำคัญของความหมายของวันลอยกระทง คุณค่า สาระและแนวทางที่พึ่งปฏิบัติน้อยลง จึงได้จัดทำหนังสือเกี่ยวกับวันลอยกระทงขึ้น เพื่อเผยแพร่ ความหมาย คุณค่าสาระ แนวปฏิบัติ ตลอดจนธรรมเนียมที่ถูกต้องเกี่ยวกับวันลอยกระทง เพื่อให้คนรุ่นต่อไปไปได้น้ำมาศึกษาค้นคว้าและหวังอย่ายิ่งว่าจะเป็นแนวทางการปฏิบัติและการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องในประเพณีลอยกระทง ลอยกระทง เป็นประเพณีของไทยที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาแต่โบราณในช่วงวันเพ็ญ ๑๒ พระจันทร์เต็มดวง แสงจันทร์สอดส่องสว่างไสว แม่น้ำใสสะอาด เป็นบรรยากาศที่สวยงาม เหมาะแก่การลอยกระทง เพื่อแสดงถึงความเคารพและการสำนึกบุญคุณของแม่น้ำคงคา และอื่นๆ ตามคติความเชื่อของแต่ละภาคแต่ละท้องถิ่นโดยใช้เป็นสื่อการในการอธิฐาน และวันลอยกระทงที่จะมาถึง ในวันที่๒๑ พฤศจิกายน ขอเชิญให้ประชาชนไทยทั่วประเทศ ร่วมสืบทอดประเพณีลอยกระทงอันดีงามนี้ไว้เป็นเอกลักษณ์ของสังคมไทยไม่ให้เสื่อมสูญ